วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
     1.1. ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)
หมายถึง การเชื่อต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป้นต้น

 เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.) เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN)
2.) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN)

3.) เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (wide area network :WAN)
4.) เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)
5.) เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)
6.) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)

     1.2. การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
   1) อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1.1) การ์ดแลน (LAN card)
1.2) ฮับ (hub)
1.3) สวิตช์ (switch)
1.4) โมเด็ม (modem)
1.5) อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือคอมพิวเตอร์ (router)
1.6) สายสัญญาณ (cable)
   2) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
2.1) การเชื่อต่อเครือข่ายระยะใกล้
2.2) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
  แบบที่ 1 คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater)  ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร
  แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพทืเข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
  แบบที่ 3 ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้ คือสายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วลูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
  แบบที่ 4 คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ
  แบบที่ 5 คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู้สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัจความเร็วสูง
  แบบที่ 6  คือ เทคโนโลยี ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ

     1.3 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1.) ระบบการปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นโเอส (linux community enterprise operating system)
2.) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น